หลายหน่วยงานผนึกกำลังสร้างศก.จากชุมชนท้องถิ่นเมืองสุพรรณบุรี

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ที่ห้องประชุมอาคารสุริยมณฑล ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวารวดี อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อตอบโจทย์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ และสร้างชุมชนท้องถิ่นการมีรายได้จากเศรษฐกิจฐานมูลค่า” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิตา แจ้ดนาลาว ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พร้อมด้วย ภาคีเครือข่ายจากคณาจารย์ จากมหาวิทยาลัยฯ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และ ผู้นำชาติพันธุ์ 33 หน่วยงาน ร่วมทำบันทึกลงนามความร่วมมือ (MOU)

ทั้งนี้ การทำ MOU ร่วมกันในวันนี้ เป็นโครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อตอบโจทย์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ และสร้างชุมชนท้องถิ่นการมีรายได้จากเศรษฐกิจฐานมูลค่า ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2567 ในการพัฒนา (ด้าน Art & Creative : ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์) โดยมีพื้นที่เป้าหมายตำบลต่างๆ ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพื้นถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ไทย – จีน กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ (ไทยโซ่ง) กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง และกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง

อย่างไรก็ตาาม การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่วันนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงพื้นที่ให้มีความรู้ ความสามารถในการนำความรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าเชิงพื้นที่ตามแนวคิด BCG รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับชุมชนท้องถิ่น จากความต้องการของท้องถิ่น พัฒนาบุคลากรภาครัฐในท้องถิ่นให้มีความรู้และศักยภาพในการบริหารการใช้ทรัพยากรในพื้นที่โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความคุ้มค่าเชิงเศรษฐสังคม (Socio – economic) เพื่อใช้ผลงานวิจัยเทคโนโลยี และงานสร้างสรรค์ รวมทั้งองค์ความรู้ของอาจารย์บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย มาบริการวิชาการชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อสร้างชุมชนท้องถิ่นให้มีรายได้จากเศรษฐกิจฐานมูลค่า (Value-Based Economy)ซึ่งกิจกรรมการดำเนินงานและผลผลิตที่ได้จากการดำเนินงานโครงการที่ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ จะได้รับมีดังนี้

  1. การสร้างนวัตกรชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับประชาชนและบุคลากรภาครัฐในท้องถิ่น
    จำนวน 50 คน และประชาชนในชุมชน จำนวน 50 คน
  2. ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมพัฒนาเชิงพื้นที่และขับเคลื่อนกิจกรรมให้เกิดส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม จำนวน 30 เครือข่าย
  3. การสำรวจพื้นที่และจัดทำฐานข้อมูลท้องถิ่นและชาติพันธุ์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสามารถสืบค้น
    ออนไลน์ จำนวน 1 ชุด
  1. การพัฒนาหลักสูตรร่วมกับชุมชนท้องถิ่น จำนวน 1 หลักสูตร
  2. การส่งเสริมภาพลักษณ์ อัตลักษณ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน มาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์/บริการ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์
  3. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวครบวงจรต้นแบบที่มีที่มีเอกลักษณเฉพาะตัวและกิจกรรมส่งเสริมการ
    ท่องเที่ยว ในประเด็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวน 1 แหล่งท่องเที่ยว
  4. การส่งเสริมการขายและช่องทางการตลาดออนไลน์สำหรับชุมชนและผู้ประกอบการ ได้รับการ
    ส่งเสริมการขายและช่องทางการตลาดออนไลน์ จำนวน 5 กลุ่ม

ข่าว/ภาพ : นันทชัย ศิริอรุณรัตน์ – รัชนีกร โพธิ์ไพจิต ผู้สื่อข่าวจังหวัดสุพรรณบุรี

Message us