ปภ.แนะคาถาลดอุบัติเหตุบนถนน”ไม่ขับรถเร็ว-ง่วงจอด-งดใช้โทรศัพท์”

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากพฤติกรรมเสี่ยง ดังนี้
ดื่มไม่ขับ

  • ปัจจัยเสี่ยง การดื่มเครื่องแอลกอฮอล์แล้วขับรถส่งผลให้ประสิทธิภาพในการขับรถลดลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในลักษณะรุนแรง
    ข้อควรปฏิบัติ
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ขับรถอย่างเด็ดขาด ควรให้เพื่อนที่ไม่ดื่มขับรถแทนใช้บริการรถแท็กซี่หรือรถโดยสารสาธารณะ กรณีไม่มีเพื่อนร่วมทาง ควรรอจนสร่างเมาแล้วจึงค่อยขับรถไปต่อ
  • เพิ่มความระมัดระวังในการขับรถกลางคืน โดยเฉพาะช่วงหลังเที่ยงคืน เพราะว่า 1 ใน 10 ของผู้ขับขี่รถที่ดื่มแล้วขับ
    มีพฤติกรรมการขัยรถที่ไม่ปลอดภัย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
    กฎหมายน่ารู้
  • ผู้ขับขี่ที่ขับรถในขณะเมาสุรา กรณีกระทำผิดครั้งแรกมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท
    ซึ่งศาลจะลงโทษจำคุกและปรับ รวมถึงถูกสั่งพักใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต
    ไม่ขับรถเร็ว
  • ปัจจัยเสี่ยง การขับรถด้วยความเร็วสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในลักษณะรุนแรง เนื่องจากแรงปะทะ ณ จุดเกิดเหตุ
    เพิ่มขึ้นตามระดับความเร็ว
    ข้อควรปฏิบัติ
  • ใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด และปฏิบัติตามป้ายจำกัดความเร็วบนเส้นทาง
  • ใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งสภาพเส้นทาง สภาพอากาศ และสภาพการจราจร
  • ลดความเร็วเมื่อขับรถผ่านเส้นท่างเสี่ยงอุบัติเหตุ อาทิ เขตชุมชน เขตโรงเรียน ทางโค้ง
  • ไม่ขับรถเร็วเมื่อขับผ่านเส้นทางทัศนวิสัยไม่ดี อาทิ หมอกลงจัด ฝนตกหนัก
    กฎหมายน่ารู้
  • ผู้ขับขี่ที่ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท
    ง่วงไม่ขับ
  • ปัจจัยเสี่ยง ผู้ขับขี่ที่หลับในจะมีอาการเสมือนคนหมดสติชั่วขณะ ทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินช้าลง ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนได้
    ข้อควรปฏิบัติ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7 – 8 ชั่วโมง
  • จอดรถพักเป็นระยะทุก 200 กิโลเมตร หรือ ทุก 2 ชั่วโมง เพื่อคลายความอ่อนล้าที่ทำให้หลับในขณะขับรถ
  • จอดรถพักในบริเวณที่ปลอดภัยเมื่อง่วงนอน หรือให้เพื่อนร่วมทางผลัดเปลี่ยนกันขับรถ
  • หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงเวลากลางคืน เพื่อเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการพักผ่อน ทำให้เสี่ยงต่อการง่วงหลับใน
  • กรณีขับรถทางไกล ควรมีเพื่อร่วมทางผลัดเปลี่ยนกันขับรถ หรือชวนพูดคุย จะช่วยป้องกันการหลับใน

โทรไม่ขับ

  • ปัจจัยเสี่ยง การใช้โทรศัพท์ ทำให้ผู้ขับขี่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินช้ากว่าปกติ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
    ข้อควรปฏิบัติ
  • ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ เพราะส่งผลต่อสมาธิในการขับรถ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
  • ใช้อุปกรณ์เสริมในการสนทนาทางโทรศัพท์ อาทิ แฮนด์ฟรี บลูทูธ แต่ไม่ควรคุยโทรศัพท์เป็นเวลานาน
  • หากไม่มีอุปกรณ์เสริม ให้ผู้ร่วมทางรับโทรศัพท์แทนหรือจอดรถคุยโทรศัพท์ในบริเวณที่ปลอดภัย
    กฎหมายน่ารู้
    ระบบบันทึกคะแนนความประพฤติในขับรถ กำหนดให้ผู้มีใบอนุญาตขับขี่รถทุกคนมี 12 คะแนน
  • ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนน
  • เมาแล้วขับรถ ถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 4 คะแนน
    กรณีผู้ขับขี่มีคะแนนประพฤติในการขับรถเหลือ 0 คะแนน
  • ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ โดยห้ามขับขี่รถ 90 วัน หากฝ่าฝืนขับขี่รถมีโทษปรับ 1,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
  • ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่รถเกิน 3 ครั้ง อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถทุกประเภท

ทั้งนี้ อุบัติเหตุทางถนนสามารถป้องกัน หากผู้ขับขี่หยุดพฤติกรรมเสี่ยง ดื่มไม่ขับ ไม่ขับรถเร็ว ง่วงไม่ขับ และโทรไม่ขับ รวมถึงการขับขี่และโดยสารยานพาหนะ ต้องใช้อุปกรณ์นิรภัยทุกครั้ง โดยคาดเข็มขัดนิรภัย สวมหมวกนิรภัย และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุ จะช่วยให้การเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางถนน

Message us