“วราวุธ”ตรวจความพร้อมรับมือน้ำเหนือถล่มสุพรรณบุรี

เมื่อวันที่ 14 กันยายน นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมด้วย พร้อมด้วย สส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เดินทางไปยังโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยา สำนักชลประทานที่ 12 กรมชลประทาน เพื่อรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำ โดยภาพรวมของจังหวัดสุพรรณบุรี ทุ่งโพธิ์พระยา และสถานการณ์น้ำในพื้นที่ บางปลาม้า คันคลองต่าง ๆ โดยมี นายวัชระ ไกรสัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 และ นายวิชัย ผันประเสริฐ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 12 นายโอฬาร ทองศร ผอ.โครงการชลประทานสุพรรณบุรี (ผคป.สุพรรณบุรี) นายธรรมนูญ บำรุงเพ็ชร โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยา (ผคบ.โพธิ์พระยา) เป็นผู้รายงาน จากนั้น นายวราวุธพร้อมคณะ ได้ไปตรวจดูระดับน้ำที่คันกั้นน้ำ ได้แก่ คันคลองระบายใหญ่คลองสุพรรณ 3 ฝั่งขวา ต.ดอนตาล อ.เมืองสุพรรณบุรี , ประตูระบายน้ำดอนตาล และ สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำบางปลาม้า

นายวราวุธ กล่าวว่า มาตรวจดูสถานการณ์น้ำและคันคลองต่างๆ ในจังหวัด เพื่อที่จะมาดูว่าการเตรียมแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของจังหวัดสุพรรณบุรีตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำทุกปี ดังนั้นถ้าใครบอกว่า สุพรรณบุรีน้ำไม่ท่วม ถามสส. สุพรรณบุรีได้ว่าท่วมทุกปีและท่วมนานเป็นแรมเดือน ดังนั้นที่เราต้องมาดูสถานการณ์น้ำเพื่อป้องกันจะทำให้สถานการณ์น้ำที่ท่วมทุกปีนั้นท่วมน้อยลง ไม่ใช่ไม่ท่วม และระยะเวลาที่ท่วมก็สั้นลง เพราะท้ายที่สุดน้ำที่อยู่ทางตอนเหนือ จำนวนมหาศาลก็จะค่อยทยอยลงมาในตอนล่าง สุพรรณบุรี อ่างทอง อยุธยา นครปฐม เป็นพื้นที่รับน้ำจากตอนเหนือตลอดอยู่แล้ว ดังนั้นการดูแลประชาชนที่อยู่ตอนล่าง เพื่อให้ได้รับการดูแลจากน้ำท่วมให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ก็ต้องขอบคุณสส. สจ. ที่ได้นำข้อมูลมาแจ้งกับฝ่ายบริหาร เพื่อนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะรัฐมนตรีต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้พวกเราชาวจังหวัดสุพรรณบุรีต้องขอบคุณกรมชลประทานในการบริหารจัดการน้ำ ดำเนินการบริหารอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เปิดแบบพรวดพลาด ไม่เช่นนั้นเมื่อระดับน้ำเขื่อนเจ้าพระยาสูงขึ้น จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม อยุธยา อ่างทอง จะเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล ในปีนี้มีการหน่วงน้ำ ชะลอน้ำให้มากขึ้น บริหารจัดการแบบค่อยๆ ระบายลงมาในตอนล่าง แล้วลงอ่าวไทยในท้ายที่สุด แต่ที่น่าเป็นห่วงคือช่วงเดือนตุลาคมเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงสุด และหากมีพายุ จากร่องมรสุมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้ามาเสริมก็จะยิ่งเป็นภาระให้กับ ฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะทำให้การระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยเป็นไปได้ยาก เมื่อกรมชลประทานระบายน้ำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้น้ำตอนเหนือลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อหน่วงชะลอน้ำ ก็จะไม่มีการท่วมเหมือนปีก่อนๆ ที่ท่วมขังนาน จะได้เร่งให้มีการระบายออกโดยเร็วที่สุด


Message us